เปิดตำนานหนังโป๊ของญี่ปุ่น

คง ไม่ต้องบอกกันว่านับตั้งแต่วิดิโอเริ่มแพร่หลายในเมืองไทย หนังโป๊ประเภทหนึ่งที่ถือเป็นตำนานของวิดิโอโป๊ก็คือ หนังจากแดนอาทิตย์อุทัย หรือ ที่รู้จักกันในนามหนังโป๊ญี่ปุ่น

หลายคนบ่นว่าไม่ชอบ เพราะเกือบร้อยเปอร์เซนต์ของหนังเปื้อนกามเหล่านี้มักจะแสดงให้เห็นภาพของ ความเจ็บปวดของฝ่ายหญิงเสียเป็นส่วนมาก ทั้งในรูปแบบของการร่วมเพศแบบรุนแรง เ***้ยมโหด พร้อมทั้งการเหยียดหยามอย่างเต็มที่ของฝ่ายชาย ซึ่งแตกต่างไปจากหนังโป๊ของทุกชาติที่ผ่านตาไป

อีกทั้งการออกแบบฉาก แสง เสียง ไปจนกระทั่งเนื้อเรื่องก็ค่อนข้างจะแย่

แต่หลายคนก็ชอบ เพราะ ความดูสมจริง การไม่ยับยั้งหรือปกปิดความเจ็บปวดนั้นก็เป็นเสน่ห์ประการหนึ่งของคนเช่นกัน อีกทั้งรูปร่างหน้าตาในแบบ “คิกขุอาโนเนะ”ซื่อๆ บริสุทธิ์ เสียงร้องที่ดังเหลือเกิน เหมือนคนไม่มีประสบการณ์ของนางแบบที่ปรกาฏอยู่บนหน้าปกก็เป็นที่เย้ายวนใจ อยู่มากสำหรับคอหนังเสือป่าทั้งหลาย

จากยุครุ่งเรืองของวิดิโอ ผ่านต่อมายังยุครุ่งเรืองของวิดิโอซีดี ปรากฏว่าหนังโป๊ของญี่ปุ่นก็ยังได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย

เสน่ห์อีกอย่างของหนังโป๊ เหล่านี้ก็คือ การได้ลุ้นว่า ภาพของนางแบบในวิดิโอเหล่านั้นจะเหมือนกับหน้าปกหรือไม่ ซึ่งกว่า 80 เปอร์เซนต์จะไม่ตรงกับหน้าปก หรือถ้าใช่ก็ไม่สวยงามน่ารักแบบนั้น

เทคโนโลยีรีทัชแต่งฟิล์มหรือ ถ่ายให้ดูสวยเย้ายวนใจชนิดตัวเองจำไม่ได้ ถูกใช้แบบทรงประสิทธิภาพมากที่สุดบนปกวิดิโอโป๊หรือวีซีดีเหล่านี้

อย่างไรก็ตามเมื่อลองไปถาม นักสร้างหนังโป๊ของญี่ปุ่นจริงๆ หลายคนบอกเหมือนกันว่า น้ำตาจะไหล ที่คนดันเหมาเอาหนังโป๊เกลื่อนแผงเหล่านั้นรวมกับหนังโป๊ในแบบฉบับของ ญี่ปุ่นจริงๆ

เป็นหนังโป๊ที่ขาประจำหรือนักวิจารณ์หนังเฉพาะทางเรียกกันด้วยศัพท์เฉพาะว่า Pink Film หรือ Pink Eiga

เพราะคุณภาพ การถ่ายทำ บทภาพยนตร์ หรือ ดาราที่คัดเลือกมาเพื่อแสดงนั้นเป็นคนละเรื่องเดียวกับหนังที่ถ่ายด้วยกล้อง วิดิโอ หรือที่มีศัพท์เฉพาะว่า AV หรือ Adult Video อย่างเห็นได้ชัด

แต่แม้ว่าจะอยู่คนละระดับกัน ทว่าความเกี่ยวเนื่องในในบางจุดก็มีอยู่ บทความชิ้นนี้เขียนขึ้นเพื่ออธิบายที่มาที่ไปของหนังโป๊ประเภทนี้ เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดๆบางอย่างที่มีมาโดยตลอดเกี่ยวกับหนังประเภทที่ว่า นี้

ที่มาของ Pink Film


ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะหา หนังที่เรียกว่า Pink Film ดูในยุคปัจจุบันนี้ เพราะบริษัทที่รับสร้างหนังประเภทนี้จริงๆจังๆเหลือไม่ถึง 3 บริษัท จากที่เคยอยู่ในยุคทองมาตั้งแต่สมัยปี 60

ในสายตาของคนญี่ปุ่น พิงค์ ฟิล์ม คือสะพานเชื่อมอันสำคัญของวรรณกรรมบางประเภทที่เจาะลงไปถึงจิตใจของมนุษย์ อันเป็นสิ่งที่นักเขียนญี่ปุ่นในยุค 50 ชอบเขียนกัน พิงค์ ฟิล์ม ก็คือ การนำวรรณกรรมเหล่านั้นมาเล่าเรื่องให้เป็นภาพเคลื่อนไหวมีชีวิตจิตใจขึ้นมา ผสมกับจิตนาการของผู้กำกับที่ว่ากันว่า เป็นดาวรุ่งแห่งวงการหนังของญี่ปุ่นทั้งสิ้น

ที่สำคัญมันเป็นโรงเรียนทำหนังชั้นยอดสำหรับคนทำหนังทุนน้อยอีกด้วย

เพราะฉะนั้นตั้งแต่เริ่ม พิงค์ ฟิล์ม จึงไม่มใช่ของสกปรกเป็นสิ่งรังเกียจที่ต้องปราบปรามแต่อย่างไร เพราะ ผู้สร้างไม่ได้มีเจตนาที่จะให้คนดูๆแล้วรู้สึกเกิดความมันย่ามใจที่จะไป ประกอบกามกิจต่อไป แต่ดูเพื่อสะท้อนให้เห็นปรากฏการบางอย่างที่เกิดขึ้นจริงๆ จากความเพี้ยนของจิตใจของสิ่งที่เรียกว่ามนุษย์

ด้วยเหตุนี้ พิงค์ ฟิล์ม จำนวนมาก จึงสร้างความช็อกต่อคนดูมากกว่าจะทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ

เรื่องแรกที่ว่ากันว่าเป็นจุดกำเหนิดของ พิงค์ ฟิล์ม อย่างแท้จริงได้แก่ภาพยนตร์เรื่อง Market of Flesh (Nikutai no ichiba) ซึ่งออกฉายในญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนมีนาคม 1962 แต่กระนั้นมันก็ไม่ได้รับความสะดวกในการฉายเท่าไหร่นัก เพราะแค่วันเดียวทางการก็ประกาศให้หนังเรื่องนี้เป็นการแพร่ภาพความบันเทิง ที่ผิดกฏหมาย ตำรวจตั้งข้อหาว่า มันเต็มไปด้วยเรื่องราวลามกแต่โชว์ให้เห็นอวัยวะเพศแบบจะๆกันทั้งเรื่อง การออกมายึดฟิล์มโดยทางการนั้นถือเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมภาพยนต์ญี่ปุ่น ก็ได้ อย่างไรก็ตามทางผู้ผลิตได้นำหนังไปตัดใหม่ ก่อนจะทำมาฉายอีกครั้งและประสบควาสำเร็จอย่างมหาศาล

นอกจาก Market of Flesh จะเป็นหนัง พิงค์ ฟิล์ม เรื่องแรกแล้วมันยังเป็นการรูปแบบของหนังอาร์ญี่ปุ่นให้เป็นรูปเป็นเรื่อง ขึ้นมา เพราะ หลังจากนั้น 40 ปี ปรากฏว่ารูปแบบของหนังอาร์ญี่ปุ่นนั้นมีเค้าเรื่องตามรอยของ Market of Flesh อยู่ค่อนข้างมาก อีกทั้งการนำเสนอภาพก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของหนังในแนวนี้ไปเลย ที่สำคัญมันได้ทำให้หนังอาร์กลายเป็นหนึ่งในแนวหลักของวงการทำหนังญี่ปุ่น ที่มีตลาดที่ใหญึ่ค่อนข้างมาก ไม่แพ้หนังวัยรุ่น หรือ หนังแอคชั่นเลยแม้แต่น้อย แม้ว่าหนังพวกนี้จะไม่เคยถูกนักวิจารณ์หรือฟิล์มบอร์ดของญี่ปุ่นออกมาให้ รางวัลในฐานะนักสร้างสรรค์เลยก็ตามที

พิงค์ ฟิล์ม ของญี่ปุ่นนั้นค่อนข้างที่จะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากหนังอาร์ของฝรั่ง ประการแรกก็คือ การเป็นหนังที่ต้นทุนต่ำ ความยาวหนังเฉลี่ย 60 นาที ในนั้นจะมีฉากเซ็กส์ที่โจ๋งครึ่มอยู่ค่อนข้างมาก เป็นการเปลือยแบบที่ไม่ได้ใช้เทคนิคอะไรมากมาย แต่เป็นการซัดกันแบบให้เห็นจะจะ ดิบๆ ไม่มีการนำเสนอภาพที่สวยงาม หรือดนตรีประกอบ หรือจังหวะสโลว์เช่นทางตะวันตก นอกจากนั้นก็ไม่มีการโชว์ให้เห็นอวัยวะเพศชาย และ หญิง หรือแม้แต่ส่วนประกอบเช่น ขน เลยแม้แต่น้อย ขณะที่ระดับที่เกินกว่านั้นที่เรียกว่าเป็น X-rated จะมีการจำกัดคนดู มีการปล่อยให้เห็นอวัยวะเพศ และการร่วมเพศกันแบบฮาร์ดคอร์ ที่ดูดิบและดูโรคจิตกว่าปรกติ ซึ่งโรงหนังเหล่านี้จะถูกจำกัดและค่าชมนั้นจะแพงกว่าค่าชมภาพยนต์ปรกติถึง 3 เท่าทีเดียว

แต่แม้จะไม่มีใครยกย่อง ชื่อของผู้กำกับหนังประเภทพิงค์ฟิล์มก็ยังเนื้อหอมสำหรับอุตสาหกรรมหนัง ญี่ปุ่น เพราะคนพวกนี้เก่งกาจเหลือเกินในการทำหนังทุนต่ำผู้กำกับอย่าง Kurosawa Kiyoshi ,Suo Masayuki , Oki Hiroyuki และ Sono Sion ถือเป็น 4 หัวหอกที่บริษัทหนังต้องการตัว และยังถือเป็น 4 ทหารเสือแห่งวงการพิงค์ ฟิล์ม เรื่องน่าแปลกก็คือตัว Kobayashi Satoru ซึ่งเป็นคนทำหนังอย่าง Market Of Flesh นั้นกลับไม่ได้ถูกจารึกเอาไว้ว่าเป็นนักทำหนังชั้นยอด แต่ว่ากันว่าหมอรักการทำหนังในแนวนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะ ถึงเขาเข้ากำกับหนังอาร์จนกระทั่งตายคาฉากทีเดียวด้วยผลงานกว่า 400 เรื่อง จนน่าจะกล่าวได้ว่า เขาเป็นหนึ่งในผู้กำกับหนังสุดยอดคนหนึ่งของญี่ปุ่นก็ว่าได้

ที่น่าสนใจก็คือ ถ้ามานั่งนับเอาว่าอิทธิพลของพิงค์ฟิล์มนั้นส่งไปถึงวงการสร้างหนังญี่ปุ่น อย่างไรบ้าง ก็ต้องบอกว่ามีอยู่เต็มไปหมด เพราะ คนดังของญี่ปุ่นในปัจจุบันล้วนแล้วแต่เคยผ่านงานการเป็นคนกำกับ ผู้ช่วยผู้กำกับ หรือ ผู้เขียนบทมาแล้วทั้งสิ้น อาทิ Oguri Kohei, Suwa Nobuhiro, Sakamoto Junji และ Aoyama Shinji Negishi Kichitaro, Kaneko Shusuke, Nakahara Shun, Ishii Takashi, Sai Yoichi, Morita Yoshimitsu, Higashi Yoichi และ Somai Shinji


อาจจะมีคนสงสัยว่าที่คนทำ หนังโป๊ของญี่ปุ่นมีเยอะนั้นสะท้อนความเป็นคนบ้าเซ็กส์ของญี่ปุ่นใช่หรือไม่ คำตอบที่อาจจะทำให้ชาวอาทิตย์อุทัย หรือคนที่มีคู่รักเป็นชาวญี่ปุ่นในขณะนี้รู้สึกสบายใจก็คือ ไม่ใช่เสียทั้งหมด เพราะจริงๆแล้วอุตสาหกรรมหนังโป๊ของญี่ปุ่นนั้นเกิดขึ้นจากเหตุประการเดียว นั้นคือ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ


ในปี 1960 มีการผลิตหนังปรกติขึ้นมาฉายทั้งสิ้น 545 เรื่อง แต่จำนวนคนดูกลับสวนทางอย่างสิ้นเชิง ยิ่งดูตัวเลขในปี 1962 จำนวนหนังยิ่งมีมากขึ้นกว่าเดิม แต่จำนวนคนดูนั้นน่าใจหาย เพราะ มันเหลือแค่ครึ่งเดียว เมื่อเทียบตัวเลขในปี 1958 ส่วนหนึ่งเพราะการเข้ามาของโทรทัศน์ที่ทำให้คนเลิกเดินเข้าโรงหนัง

อีกส่วนเป็นเรื่องอุตสาหกรรมบันเทิงด้านอื่นเช่นบาร์อะโกโก้ที่เติบโตล้วนแล้วแต่ทำให้คนเข้าโรงหนังน้อยลง

นั่นทำให้ผู้สร้างต้องหาทาง ลดต้นทุน และที่สำคัญต้องทำให้โรงภาพยนตร์กลายเป็นสถานที่ซึ่งจะฉายหนังที่ไม่สามารถ จะมีได้ทางทีวี หวยมาออกตรงหนังโป๊ ยุทธวิธีง่ายๆก็คือ ขายหนังที่มีต้นทุนการผลิตต่ำสุด แต่คนดูอยากจะดูมากที่สุด อุตสาหกรรมหนังญี่ปุ่นจึงไฟเขียวให้บรรดาผู้สร้างอิสระได้เข้ามาจัดหนังของ ตนฉายตามโรงเล็กๆ ก่อนจะขยายตัวไปฉายในโรงใหญ่มากขึ้นตามลำดับ

ในปี 1962 งานสร้างหนังปรกติจากสตูดิโอใหญ่ลดเหลือ 30 เปอร์เซนต์ในตลาด ขณะที่ตัวเลขของหนังโป๊สูงขึ้นเรื่อยๆจาก 58 เรื่องในปี1964 กลายมาเป็น 250 เรื่องในปี 1969 และนับตั้งแต่นั้นมันก็กลายเป็นแนวหนังที่ถูกสร้างออกมามากที่สุดอย่างช่วย ไม่ได้

ชนิดของข้อมูลใน MySQL

ข้อมูลตัวเลข:

TINYINT ขนาดที่เก็บ 1 ไบต์
UNSIGNED เก็บค่าจำนวนเต็ม 0 ถึง 255
SIGNED เก็บค่าจำนวนเต็ม -128 ถึง 127

SMALLINT ขนาดที่เก็บ 2 ไบต์
UNSIGNED เก็บค่าจำนวนเต็ม 0 ถึง 65535
SIGNED เก็บค่าจำนวนเต็ม -32768 ถึง 32767

MEDIUMINT ขนาดที่เก็บ 3 ไบต์
UNSIGNED เก็บค่าจำนวนเต็ม 0 ถึง 16777215
SIGNED เก็บค่าจำนวนเต็ม -8388608 ถึง 8388607

INT หรือ INTEGER ขนาดที่เก็บ 4 ไบต์
UNSIGNED เก็บค่าจำนวนเต็ม 0 ถึง 4294967295
SIGNED เก็บค่าจำนวนเต็ม -2147483648 ถึง 2147483647

BIGINT หรือ INTEGER ขนาดที่เก็บ 8 ไบต์
UNSIGNED เก็บค่าจำนวนเต็ม 0 ถึง 18446744073709551615
SIGNED เก็บค่าจำนวนเต็ม -9223372036854775808 ถึง 9223372036854775807

(ขนาดที่เก็บของ INTEGER จะแปรตามค่าที่บันทึก)

FLOAT(x) ถ้า 0 <= x <= 24 ขนาดที่เก็บ 4 ไบต์ (ดู FLOAT)
ถ้า 25 <= x <= 53 ขนาดที่เก็บ 8 ไบต์ (ดู DOUBLE)
เก็บค่าจำนวนจริงแบบ IEEE

FLOAT ขนาดที่เก็บ 4 ไบต์
เก็บค่าจำนวนจริงแบบ IEEE
ตั้งแต่ -3.402823466E+38 ถึง -1.175494351E-38
และ 0
และ 1.175494351E-38 ถึง 3.402823466E+38

DOUBLE หรือ REAL ขนาดที่เก็บ 8 ไบต์
เก็บค่าจำนวนจริงแบบ IEEE
ตั้งแต่ -1.7976931348623157E+308 ถึง -2.2250738585072014E-308
และ 0
และ 2.2250738585072014E-308 ถึง 1.7976931348623157E+308

DECIMAL(m,d) หรือ NUMERIC(m,d) ถ้า d = 0 ขนาดที่เก็บคือ m+1 ไบต์ ถ้า d > 0 ขนาดที่เก็บคือ m+2 ไบต์
เก็นค่าเลขทศนิยมแบบระบุจำนวนหลัก m ทุกหลักรวมทศนิยม และ d หลักหลังทศนิยม
เช่นถ้าต้องการเก็บค่าให้ได้มากที่สุดเพียง 9999.99 ให้กำหนดเป็น DECIMAL(7,2)

ข้อมูลวันเวลา:

DATE ขนาดที่เก็บ 3 ไบต์
เก็บค่าวันที่ในรูปแบบ YYYY-MM-DD
โดยมีค่าตั้งแต่ 1000-01-01 ถึง 9999-12-31

DATETIME ขนาดที่เก็บ 8 ไบต์
เก็บค่าวันที่และเวลาในรูปแบบ YYYY-MM-DD HH:mm:SS
โดยมีค่าตั้งแต่ 1000-01-01 00:00:00 ถึง 9999-12-31 23:59:59

TIMESTAMP[(m)] ขนาดที่เก็บ 4 ไบต์
เก็บวันที่และเวลาในรูปแบบ String Timestamp
m = 14 หรือไม่กำหนด -> YYYYMMDDHHmmSS
m = 12 -> YYMMDDHHmmSS
m = 10 -> YYMMDDHHmm
m = 8 -> YYYYMMDD
m = 6 -> YYMMDD
m = 4 -> YYMM
m = 2 -> YY
โดยมีค่าตั้งแต่ 1970-01-01 00:00:00 ถึง 2037

TIME ขนาดที่เก็บ 3 ไบต์
เก็บค่าเวลาในรูปแบบ HH:mm:SS
โดยมีค่าตั้งแต่ 00:00:00 ถึง 23:59:59

YEAR[(2 หรือ 4)] ขนาดที่เก็บ 1 ไบต์
เก็บค่าปี 2 หรือ 4 หลัก
หากระบุเป็น 2 จะเก็บค่า 70 ถึง 69 หมายถึงปี 1970 ถึง 2069
หากระบุเป็น 4 จะเก็บค่า 1901 ถึง 2155

ข้อมูลตัวอักษร:

CHAR(m) ขนาดที่เก็บ m ไบต์ แต่ไม่เกิน 255 ไบต์
เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือ encoding ที่ใช้อยู่

VARCHAR(m) ขนาดที่เก็บตามข้อมูลจริง มากที่สุด m ไบต์ แต่ไม่เกิน 255 ไบต์
เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือ encoding ที่ใช้อยู่

CHAR จะเก็บขนาดตายตัว ส่วน VARCHAR จะเก็บตามขนาดของข้อมูลตัวอักษร

TINYBLOB หรือ TINYTEXT
ขนาดที่เก็บตามข้อมูลจริง +1 ไบต์ แต่ไม่เกิน 255 ไบต์
เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือข้อมูล BINARY

BLOB หรือ TEXT
ขนาดที่เก็บตามข้อมูลจริง +2 ไบต์ แต่ไม่เกิน 65535 ไบต์
เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือข้อมูล BINARY

MEDIUMBLOB หรือ MEDIUMTEXT
ขนาดที่เก็บตามข้อมูลจริง +3 ไบต์ แต่ไม่เกิน 16777215 ไบต์
เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือข้อมูล BINARY

LONGBLOB หรือ LONGTEXT
ขนาดที่เก็บตามข้อมูลจริง +4 ไบต์ แต่ไม่เกิน 4294967295 ไบต์
เก็บค่าอักษรตามรหัส ASCII หรือข้อมูล BINARY

ENUM(’value1′,’value2′,…)
ขนาดที่เก็บ 1 หรือ 2 ไบต์ ตามจำนวนค่า value ซึ่งกำหนดได้มากที่สุด 65535 ค่า
เก็บค่าตาม value ที่กำหนด

SET(’value1′,’value2′,…)
ขนาดที่เก็บ 1, 2, 3, 4 หรือ 8 ไบต์ ตามจำนวนค่า value ซึ่งกำหนดได้มากที่สุด 64 ค่า
เก็บค่าตาม value ที่กำหนด

ENUM เก็บค่า value เพียงค่าเดียวต่อหนึ่งชุดข้อมูล SET เก็บ value ได้หลายๆ ค่าต่อหนึ่งชุดข้อมูล


ที่มา